ดูหนัง 4 Kings 2 (2023) โฟคิงส์ 2 ภาพยนตร์ดำเนินต่อจากเหตุการณ์ในภาคแรก เมื่อตุ้มเม้ง (ทศพล หมายสุข) นักศึกษากนกอาชีวะถูกลอบทำร้ายจนเกือบตาย บ่าง (สมพล รุ่งพาณิชย์) แกนนำนักศึกษากนกเตรียมการหวังแก้แค้น คู่อริต่างสถาบัน เอก (สิราษฎร์ อินทรโชติ) และ รก (สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร) เมื่อความแค้นที่ถูกสะสมได้เวลาเอาคืน บ่าง และ รก เผชิญหน้ากัน โดยมี ยาท เด็กบ้าน (ดิลก ทองวัฒนา) เป็นตัวแปรที่จุดชนวนครั้งใหญ่ เพิ่มอุณหภูมิความเดือดในการล้างแค้นครั้งนี้ ความเข้มข้นของความขัดแย้งระหว่างนักศึกษาของ 2 สถาบันนี้ นำไปสู่การปะทะครั้งใหญ่อีกครั้ง ส่งผลให้เกิดความรุนแรงและสูญเสียครั้งใหม่ บ่าง และ รก ต้องเผชิญกับการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต พวกเขาจะเลือกเส้นทางใด ระหว่างความแค้นที่ฝังลึก หรือโอกาสในการเริ่มต้นใหม่
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
พุฒิพงศ์ นาคทอง ⭐ BENJI Review 🤩 คะแนน: 6/10 ดาว เกริ่นนำสั้น ๆ ก่อนว่า 4 KINGS คือหนังที่ว่า ด้วยเรื่องของการห้ำหั่นกันของกลุ่มนักเรียนช่างจาก 4 สถาบัน ได้แก่ โรงเรียนกนกอาชีวศึกษา, โรงเรียนอินทรอาชีวศึกษา, โรงเรียนเทคโนโลยีประชาชื่น, โรงเรียนเทคนิคบุรณพนธ์ (เดิมชื่อ โรงเรียนช่างกลบุรณพนธ์)นักเรียนจากทั้ง 4 สถาบัน ล้วนมีความแค้นฝังใจจากการแก้แค้นกันไปมา เป็นวังวนไม่รู้จักจบสิ้นในภาคนี้หนังต่อยอดเรื่องราวจากภาคแรกโดยโฟกัสไปที่ “บ่าง” (แหลม – สมพล รุ่งพาณิชย์) หัวหน้าแก๊งค์จากกนกอาชีวศึกษา และ “ยาท เด็กบ้าน” (บิ้ก ดี เจอร์ราร์ด) ตัวละครจากภาคที่แล้วที่มีประวัติเคยติดคุกเด็กมาทั้งสองเป็นตัวละครที่เคยมีชีวิตเกี่ยวข้องกันในสมัยเด็ก และเชื่อมโยงกันผ่าน “บุ้ง” (ทราย เจริญปุระ) พี่สาวของบ่าง เมื่อโตขึ้น บ่างและยาทต่างมีชีวิตที่หันเหออกจากกัน ด้วยปมประเด็นบางอย่างที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ทั้งสองได้กลับมากระทบกระทั่งกันอีกครั้ง พร้อมทั้งพัวพันกับการตีกันของโรงเรียน 4 สถาบัน(จริง ๆ พล็อตก็แอบมีความนิยายกำลังภายในอยู่นะ)สำหรับ 4 KINGS 2 หนังขยายเรื่องราวได้เป็นผู้ใหญ่กว่าภาคที่แล้ว ด้วยโทน “ทริลเลอร์แก๊งสเตอร์” ผสมกับ “Coming of age”หนังมีพาร์ทดราม่าที่หนักขึ้น และเพิ่มความโหดดิบที่เดือดกว่าเดิม ขณะเดียวกัน ก็เติมมิติของตัวละครให้ผู้ชมได้เห็นทุกมุม ซึ่งตรงนี้น่าชื่นชม เพราะ เราได้เห็นความเป็นเหตุเป็นผลในตัวละครแต่ละตัวมากขึ้น ถึงสาเหตุว่าทำไมชีวิตของเขาถึงเป็นแบบนี้ ชีวิตที่เลวร้ายอาจเกิดจากสภาพจิตใจของเขาที่ไม่ทนทานต่อสังคมเอง อย่างไรก็ตาม เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความไม่สมบูรณ์ในตัวเด็ก ก็อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมในชีวิตที่เติมเต็มสิ่งดี ๆ ให้เขาไม่ได้ครั้นเมื่อจะโตมาเป็นคนบิดเบี้ยว กว่าสำนึกได้ ก็มักเป็นเวลาที่สายหรือสูญเสียบางอย่างไปแล้วดังนั้น หนังจึงพยายามสะท้อนให้เห็นถึง “ผลลัพธ์” ของ “แรงกระทำ” ของเด็กกลุ่มนี้ที่ไม่เคยเป็นผลดีกับทุกคน ซ้ำร้ายรังแต่ทำให้ชีวิตตกต่ำกว่าเดิมส่วนถัดมา รู้สึกประทับใจในอารมณ์ทริลเลอร์ที่บีบสมองเราได้เสมอ หลายซีนแค่ตัวละครจ้องตากัน ก็เดือดระอุแล้ว ส่วนบางซีนก็ตลกร้ายดีส่วนตัวขอยกให้บท “ยาท เด็กบ้าน” เป็นตัวละครที่มีมิติมากที่สุดในเรื่อง ในภาคแรก หนังแสดงให้เห็นว่า คนบ้าและเลวโดยสันดานอย่างแท้จริงมีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร ขณะที่ในภาคนี้ หนังให้พื้นที่กับแบ็คกราวน์เบื้องหลังชีวิตนั่นก็ทำให้ผู้ชมเห็นว่า “ยาท” มีชะตากรรมที่น่าสงสารจับใจ และเป็นหนึ่งในตัวละครที่มี Conflict ในตัวเองมากที่สุดส่วนพาร์ทตัวละครอื่น ๆ ก็ชอบเช่นกัน โดยเฉพาะบท “บ่าง”, “บุ้ง”, “ตาของยาท” ทุกคนระเบิดอารมณ์ได้เยี่ยมจนน่ากวาดรางวัลใหญ่ ๆ ในไทยในภาคนี้มีเพลงเพราะ ๆ ประกอบอย่างเพลง “บุษบา” ของ Moderndog และ “บางสิ่ง” โดยพี่แหลม สมพล ⭐ โกดังหนัง 🤩 คะแนน: 8/10 ดาว ดูเหมือนว่า 4 Kings จะกลายเป็นหนังไทยภาคต่อที่ทำออกมาแล้วให้ความรู้สีกจริงใจ ชัดเจนกับเนื้อหาที่จะเล่าโดยที่แฝงไปด้วยประเด็นดราม่าสังคมผ่านตัวละครของชายขอบ อันธพาล วัยรุ่นเด็กช่างไว้ได้ค่อนข้างดี ผู้กำกับเองก็ซัดเรื่องราวได้แบบตรงไปตรงมา เด็กช่างกลุ่มคนชายขอบในสังคมที่มักถูกมองเป็นคนไม่ดีคนที่เลวร้าย ที่สุดท้ายแล้วความคึกคะนองเรื่องสถาบันมันก็มาจากบาดแผลจากชีวิตในครอบครัวที่ไม่ได้รับการเหลียวแล โดยรวมหนังยกระดับขึ้นมาจากภาคแรก ตัดจุดบอดเดิมๆทิ้งไปหมด จนกลายเป็นงานคุณภาพที่เติบโตขึ้นกว่าเดิม ทุกตัวละครมีมิติมีเสน่ห์ที่น่าค้นหา“กูทำเพื่อพวกเรา มึงนะทำเพื่อใคร โรงเรียนมึงเหรือ เพื่อนมึงเหรอ ศักดิ์ศรีมึงรึเปล่า”เหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของเด็กช่าง 2 สถาบัน กนกอาชีวะ และ ช่างกลบุรณพนธ์ เมื่อ ตุ้มเม้ง เด็กเรียนดีของกนกถูกลอบทำร้ายจนเกือบตาย ทำให้บ่าง แกนนำนักศึกษากนก เดินหน้าแก้แค้นออกไปไล่ล่า ช่างกลบุรณพนธ์ที่เป็นศัตรูกัน โดยไม่รู้เลยว่าต้นเหตุที่แท้จริงมาจาก ยาท เด็กบาทที่มีความโกรธแค้นเด็กอาชีวะ เคยมีความรู้สึกว่า เด็กช่างตีกันแล้วได้อะไร ซัดกันเพื่อศักดิ์ศรีความเท่ห์ เสื้อช็อปตราโรงเรียน ตั้งตัวเป็นใหญ่ตัวเป็นอันธพาลใช้ความรุนแรง แต่อีกมุมหนึ่งแทบไม่มีใครรู้เลยว่าคนเหล่านี้มีปัญหาชีวิตยังไง เติบโตมายังไง อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้พวกเขาเลือกวิธีนี้แก้ปัญหา หรือแม้แต่ชีวิตคนที่ซวยโดนลูกหลงจากการตีกันของเด็กช่างได้รับผลกระทบอะไรบ้างชีวิตเผชิญหน้ากับชะตากรรมอะไรบ้าง ผู้กำกับดูเหมือนจะมีเรื่องเล่าในมุมมองใหม่ๆที่ไม่ได้เติมเต็มในภาคแรก ตีความในมุมมองได้ค่อนข้างดี ชีวิตจริงเด็กช่างตั้งใจเรียนก็มีแต่มักโดนลูกหลงคราวซวยแบบที่ไม่ได้ไปก่อเรื่องกับใคร หนังค่อยๆเล่าเรื่องผ่าน 3 ตัวละคร ที่มีสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันออกไป ยาท เด็กบ้าน คนจนที่สุด, บ่าง กนก เด็กที่มีการศึกษา และ รก บุรณพนธ์ เด็กบ้านรวย ทุกคนเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือมีชีวิตที่โหดร้ายเพราะสภาพสังคมที่เติบโตไม่ดี เมื่อไม่มีใครชี้นำ มุมมองด้านดีๆ ความสว่างในการชีวิตก็ไม่รู้จะเริ่มยังไง ความเท่ห์ความคึกคะนองความอยากตั้งตัวเป็นใหญ่ อยากแสดงพลังอยากได้รับการยอมรับ คือสิ่งที่วัยรุ่นบางคนคิด และสุดท้ายมันก็มาลงเอยที่การใช้กำลังข่มเหงคนอื่น รังแกคนอื่นเพื่อความสะใจ ระบายความอัดอั้นที่ไม่เคยมีใครเข้าอกเข้าใจ หนังพูดถึงปัญหาครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่พ่อแม่บางคนไม่เคยเหลียวแล บางคนถูกพ่อแม่ถอดทิ้ง บางคนผู้ปกครองเป็นความหวังแต่กลับต้องมาเสียชีวิตหรือพิการ เมื่อเด็กโชคร้ายไม่ได้รับการเอาใจใส่มันกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวไร้คนเข้าใจ ผู้กำกับตีโจทย์แตกเล่าเรื่องให้เห็นว่าสถาบันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือครอบครัว ถ้าหากอบรมดี ไม่มีทางที่คนเหล่านี้จะไปทำตีเป็นอันธพาลทำร้ายคนอื่นได้แน่ๆ หนังมีมิติที่น่าค้นหาไม่ได้แค่เรื่องครอบครัวเท่านั้น แต่นำเสนอว่าบทเรียนชีวิตบาดแผลของตัวละครที่ได้รับจากความคึกคะนองสีเสื้อสถาบันไม่ได้เป็นผลดี เสื้อช็อป ความยิ่งใหญ่ สถาบันศักดิ์ศรี มันใช่จริงๆหรือเปล่าไปตีกัน มันไม่ได้เท่ห์ในสายตาคนอื่น ตรงกันข้ามยังมีผลเสียตามมา บางคนเข้าใจและค่อยๆหลีกหนีออกจากสังคมเดิมๆ เมื่อพื้นที่ที่อยู่มันไม่ดี มันมีผลร้ายตามมา ก็ปลีกตัวออกไปดีกว่า บางคนเลือกไม่ได้ จำยอมจำต้องทน เพราะตัวเลือกในชีวิตมันไม่ได้มีอะไรให้เลือกเยอะมากมายขนาดนั้น สภาพสังคมไทยยิ่งเป็นคนจนคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ โอกาสทำงานดีๆแทบไม่มี สุดท้ายมันก็ไปจบที่เรื่องผิดกฏหมายเพื่อประทังชีวิตเอาตัวรอด บางคนไม่มีแม้แต่โอกาสจะได้เลือกทางเดินชีวิตให้ตัวเองเลยด้วยซ้ำ บางคนเกิดมาจน เกิดมาต้องใช้ชีวิตอยู่กับคนที่เป็นความหวังเดียวในครอบครัวหนังค่อยๆพาคนดูไปสัมผัสมุมมองของคนที่เลือกอะไรไม่ได้เลย ภาคนี้ทำให้คนดูได้เข้าใจหัวอกของยาท เด็กบ้านตัวละครที่พบกับความสูญเสียในชีวิตแบบที่น่าเห็นอกเห็นใจ ความดุดันความโหดร้ายมันเกิดจากสิ่งที่เขาไม่ได้เลือก และคนรอบข้างก็ได้รับผลกระทบทำให้เขามีชะตากรรมแบบนั้น กราฟของหนังพุ่งพล่านไปด้วยความบ้าบิ่นของตัวละคร แต่เมื่อเบาบางลงเราจะพบว่าหนังสอดแทรกบทเรียนชีวิตดราม่าที่หดหู่ผ่านอารมณ์ของคนจนคนชายขอบที่คนนอกคนชนชั้นกลางอาจไม่มีวันเข้าใจชีวิตพวกเขาได้เลย มีฉากหนึ่งที่เด็กช่าง 2 สถาบันตีกัน พวกเขาซัดกัน แต่พอมีคนมีห้ามดันไม่กล้าชกต่อยกันต่อ มันชิ่งกลับมาอีกครั้งว่า ถ้าแน่จริงซัดกันเพื่อโรงเรียน แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์ความเป็นความตาย ทำไมไม่ตีกันต่อวะเนี่ย เก่งกันหนักแต่เมื่ออยู่ต่อหน้าคนจริงตัวจริงกลับไม่กร่างกลับหวาดกลัวขี้ขลาดตาขาว หรือแม้กระทั่งการดิ้นรนหนีเอาตัวรอด ปากบอกว่าเพื่อนจริงเพื่อนไม่ทิ้งกันสุดท้ายก็หนีตายโดยทิ้งเพื่อนเอาไว้ด้านหลัง เพื่อนจริงเพื่อนแท้เขาไม่ทำกันแบบนี้ หนังเล่าเรื่องในยุค 90 โปรดักชั่นค่อนข้างทำออกมาเนี๊ยบมาก ในยุคสมัยนั้นโลกไม่มี Internet มันมีความคลาสสิกเด็กช่าง รวมตัวกันก็ที่ห้างไปตู้เพลง กินเหล้ากินเบียร์สนุกสนานแล้วก็ไปซัดกันในเวทีคอนเสิร์ต เมื่อพวกเขาไม่ได้มีอะไรให้เรียนรู้เยอะพฤติกรรมก็ไม่พ้นเรื่องเดิมๆ สุดท้ายมันก็กลายเป็นว่าชีวิตไปลงที่หมัด มีด ปืน หนังค่อยๆเห็นเวรกรรม บาปกรรมที่เด็กช่างเด็กบ้านสร้างเอาไว้มันกลายเป็นบาดแผลรอยร้าวในชีวิต ไม่ตาย พิการ และติดคุก เรียกว่าผู้กำกับเล่าเรื่องได้เห็นภาพที่ชัดเจนความแค้น การเอาคืน ความสะใจ ความคึกคะนองไม่เคยเป็นผลดีให้กับคนกลุ่มไหนทั้งสิ้น ดราม่าเข้มข้นจนรู้สึกเห็นอกเห็นใจตัวละครมากๆที่เติบโตมาในสังคมไทยที่ไม่เคยมีใครเหลียวแลเลยสักอย่าง บิ๊ก D Gerrard พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นนักแสดงที่มีศักยภาพ ภาคที่แล้วมาแบบงงๆรอจังหวะรอเล่นงานเด็กช่าง แต่เรื่องนี้สามารถดำดิ่งหดหู่น่าเห็นอกเห็นใจพาคนดูไปอยู่ในจุดที่ว่าทำไมเขาถึงตั้งตัวเป็นศาลเตี้ยรอเวลาจัดการเด็กช่าง เรียกว่าบทหนังสร้างสรรค์ออกมาได้ดี, พี่แหลม สมพล อินเนอร์การแสดงมาเต็ม ตอบแทนความเชื่อมั่นจากผู้กำกับได้เต็มที่ บ้าบิ่น มุทะลุ, จี๋ สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร เหมือนว่าเขาได้ค้นพบบทที่ใช่ในชีวิตการแสดงจริงๆซะแล้ว ถ่ายทอดความเป็น รก บุรณพนธ์ ที่ชีวิตดูน่าอิจฉา มีเงินมีบ้านหลังใหญ่ แต่กลายเป็นคนที่น่าสงสารไม่ต่างจากยาท เฟย ภัทร คนนี้ของจริงอยู่แล้ว โหดดุเดือดปล่อยอารมณ์การแสดงออกมาเต็มที่ เวลาเข้าฉากกับแม็กซ์ ณัฐวุฒิ กลายเป็นคู่หูที่ลงตัว, ทู สิราษฎร์ ที่สานต่อการแสดงจากภาคแรกของตัวเอง นิ่งเยือกเย็น สุขุม แต่ในเวลาเดียวกันก็แฝงไปด้วยความอ่อนแอความหวาดกลัวเพราะบาดแผลชีวิตที่ซ่าผิดที่ผิดทางสรุป : บทหนังคุณภาพ กลบจุดบอดจากภาคแรกทิ้งไป เล่าเรื่องได้ทรงพลังผ่านทุกตัวละครที่มีมิติ สะท้อนปัญหาสังคม ตีแผ่ความจริงได้เห็นอกเห็นใจ บทเรียนชีวิตความคึกคะนองไม่เคยมีผลดีให้กับใครนักแสดง
Somphol Rungphanit (สมพล รุ่งพาณิชย์)
อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล
สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร
สิราษฎร์ อินทรโชติผู้กำกับ
รีวิว 4 Kings 2 (2023) โฟคิงส์ 2