ดูหนัง Rising Sun (1993) ไรซิ่งซัน กระชากเหลี่ยมพระอาทิตย์
เกิดคดีฆาตกรรมหญิงสาวคนหนึ่งในบริษัทใหญ่กลางเมืองลอสแองเจลิส ทำให้จอห์น คอนเนอร์ (Sean Connery) และ เว็บสเตอร์ สมิธ (Wesley Snipes) 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกส่งมาเพื่อไขคดี ในงานกาลาฉลองการสำเร็จการศึกษาที่สำนักงานใหญ่ของ Nakamoto ในลอสแอง เจลิสที่เพิ่งเปิดใหม่ เชอริล ลินน์ ออสติน โสเภณี ชาวญี่ปุ่น กำลังมีเซ็กส์กับผู้ชายคนหนึ่งบนโต๊ะประชุม เธอถูกบีบคอขณะหายใจไม่ออกเพราะความใคร่ แต่สุดท้ายเธอก็เสียชีวิต ร้อย ตำรวจโทเว็บสเตอร์ “เว็บ” สมิธ แห่งกรมตำรวจลอสแองเจลิส และจอห์น คอนเนอร์ อดีตกัปตันตำรวจและผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการญี่ปุ่น ถูกส่งไปทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้บริหารญี่ปุ่นและเจ้าหน้าที่สอบสวน ทอม เกรแฮม อดีตหุ้นส่วนของสมิธ ในระหว่างการสืบสวนเบื้องต้น คอนเนอร์และสมิธตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด และพบว่าดิสก์หนึ่งแผ่นหายไป สมิธและคอนเนอร์สงสัยว่าเอ็ดดี้ ซาคามูระ แฟนหนุ่มของเชอริลและตัวแทนของคู่แข่งของนากาโมโตะ ฆ่าเธอ และสอบสวนเขาที่งานปาร์ตี้ที่บ้าน ซาคามูระสัญญาว่าจะนำของบางอย่างมาให้คอนเนอร์ และคอนเนอร์ก็ยอมปล่อยเขาไปอย่างไม่เต็มใจหลังจากยึดหนังสือเดินทางของเขา อิชิฮาระ พนักงานของนากาโมโตะที่คอนเนอร์เคยสอบสวนมาก่อน ส่งแผ่นดิสก์ที่หายไปมาให้ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าซาคามูระกำลังมีเซ็กส์กับเชอริลและบีบคอเธอ เกรแฮมและสมิธนำหน่วยSWATบุกเข้าบ้านของซาคามูระ เขาพยายามหลบหนีด้วย รถสปอร์ต เวกเตอร์ W8แต่เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิต
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
นักแสดง
Sean Connery ฌอน คอนเนอรี่
Wesley Snipes
Harvey Keitel
ผู้กำกับ : ฟิลิป คอฟแมน
รีวิว Rising Sun (1993) ไรซิ่งซัน กระชากเหลี่ยมพระอาทิตย์
หนังวินเทจ
เกิดคดีฆาตกรรมหญิงสาวคนหนึ่งในบริษัทใหญ่กลางเมืองลอสแองเจลิส ทำให้จอห์น คอนเนอร์ (Sean Connery) และ เว็บสเตอร์ สมิธ (Wesley Snipes) 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกส่งมาเพื่อไขคดีจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด พวกเขาก็ได้ร่องรอยว่าคนร้ายน่าจะเป็น เอ็ดดี้ ซากามูระ (Cary-Hiroyuki Tagawa) เพลย์บอยหนุ่มทายาทนักธุรกิจใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ หลักฐานที่น่าจะมัดตัวเอ็ดดี้กลับมีเงื่อนงำซ่อนอยู่ครับ ประหนึ่งว่าเทปจากกล้องนั้นจะไม่ใช่ของจริงแล้วแท้จริงแล้วฆาตกรคือใคร และมีเรื่องราวใดอยู่เบื้องหลังการฆาตกรรมครั้งนี้หรือไม่?
จริงๆ หน้าหนังนั้นน่าสนใจมากครับ เริ่มจากดาราที่ถือว่าเป็นระดับแม่เหล็ก และหนังยังดัดแปลงจากนิยายของ Michael Crichton ที่โด่งดังอย่างมหาศาลจาก Jurassic Park แล้วไหนจะได้ Philip Kaufman แห่ง The Right Stuff และ The Unbearable Lightness of Being มานั่งแทนเป็นผู้กำกับอีกนอกจากนี้พล็อตก็ถือว่ามาพร้อมความน่าสนใจ เพราะมันไม่ไม่ได้มีแค่เรื่องราวสืบสวนไขคดีฆาตกรรมธรรมดา แต่มันยังมีประเด็นเรื่องของความต่างทางวัฒนธรรม เพราะสถานที่เกิดเหตุคือบริษัทของชาวญี่ปุ่น และผู้ต้องสงสัยก็ยังเป็นคนญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งวิธีการเข้าไปสืบหรือเข้าไปขอข้อมูลแบบอเมริกันนั้น บางทีมันก็ใช้ไม่ได้ผลกับคนญี่ปุ่นครับ มันต้องคนมีที่เข้าใจวิถีของคนญี่ปุ่นเข้ามาช่วยในการสื่อสารและสืบสวนด้วย
แล้วยังไม่หมดครับ หนังยังมีประเด็นในเชิงการเมือง (เพราะมีนักการเมืองเข้ามาเอี่ยว) อีกทั้งตัวละครอย่างเว็บสเตอร์ สมิธเอง ตัวเขาก็มีปมในอดีตมาก่อความลำบากให้กับชีวิตเขา รวมถึงก่อความลำบากในการสืบคดีด้วย เรียกว่าในแง่ของพล็อตและปมต่างๆ แล้ว หนังมีอะไรให้เล่นหลายอย่างมากแต่ตัวหนังเองกลับไปได้ไม่สุดครับ แต่ละอย่างที่ผมสาธยายไปนั้นไม่ได้รับการลงลึกเท่าที่ควร แต่ละส่วนถูกนำเสนอแบบผ่านๆ แค่ให้พอรับรู้ว่ามีปมนี้หรือมีประเด็นนี้อยู่นะ แต่ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร อย่างการสืบคดีก็ไม่ได้เร่งเร้าหรือมีการทิ้งปมให้เกิดความน่าสนใจอะไร การสืบเหมือนสืบไปเรื่อยๆ พอถึงเวลาก็แค่เฉลยปมว่าตกลงมันเกิดอะไรขึ้น ตกลงใครเป็นคนทำ แต่มันไม่ได้มีความชวนติดตามแบบที่หนังสืบสวนพึงจะมีหรือประเด็นเรื่องความต่างทางวัฒนธรรมนั้น หนังกำหนดให้ตัวละครอย่างจอห์น คอนเนอร์ เป็นคนที่เคยคลุกคลีกับชาวญี่ปุ่นมาก่อน เขาเลยมิวิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับการ
สื่อสารหรือร่วมงานกับคนญี่ปุ่น ซึ่งในจุดนี้ปู่ Sean แสดงได้ดีครับ เพียงแต่บทไม่ได้เปิดโอกาสให้เราได้รู้จักความลึกซึ้งของตัวละครนี้สักเท่าไร คือดูก็รู้น่ะครับว่าตัวละครนี้เขามีของ เขามีวิธีคิด-วิธีมองโลก รวมถึงมีปรัชญาตะวันออกที่น่าสนใจ แต่บทก็กลับเสนอในส่วนนี้แบบผ่านๆ อีกเหมือนกันตัวหนังจึงมีหลายๆ อย่างผสมกันอยู่ แต่ก็ไม่ถึงรสสักอย่างครับ จะแนวสืบสวนก็มี จะดราม่ามาปนก็มี จะแทรกเรื่องธุรกิจก็มี หรือจะเอาระทึกขวัญก็มี แต่หนังไปไม่ถึงจุดหมาย ยิ่งการเดินเรื่องนี่จะบอกว่าหนังเดินเรื่องเรื่อยๆ มันก็ไม่เชิงนะครับ คือจริงๆ แต่ละฉากน่ะมันไม่ได้เรื่อยเปื่อยนะ มันจะมีประเด็นทั้งหลายที่ผมบอกไปแทรกอยู่ในแต่ละฉาก แต่การนำเสนอมันไม่ถึงรสและไม่ถูกทางในหลายๆ วาระน่ะครับ อย่างตอนที่เกี่ยวกับการตามปมสืบสวนอย่างเงี้ย มันควรจะสามารถสร้างอารมณ์ฉงนสงสัย ชักชวนให้เราสนใจพร้อมทั้งตั้งคำถาม และอยากติดตามต่อ แต่ผลที่ได้กลับออกมานิ่งๆ แม้จะได้ดาราดีๆ มาแสดงก็ตาม แต่อารมณ์ของฉากนั้นมันไม่ใช่น่ะครับ
จุดนี้ผู้ที่ต้องรับไปส่วนใหญ่ก็คือ Kaufman ครับ เพราะเขาควบทั้งตำแหน่งร่วมดัดแปลงจากนิยายมาเป็นบทและกำกับ และแม้จะมีชื่อของ Crichton และ Michael Backes ขึ้นเครดิตอยู่ในฐานะคนร่วมดัดแปลงบทก็ตาม แต่เอาเข้าจริงแล้วทั้ง 2 คนขอถอนตัวออกจากกองถ่ายตั้งแต่หนังยังถ่ายไม่เสร็จน่ะครับ เพราะพวกเขาไม่เห็นด้วยกับวิสัยทัศน์ของ Kaufman ว่าง่ายๆ คือทั้งบทและทิศทางนี่ไปคนละอย่างกับที่ Crichton คิดเลยล่ะ
ก็ยอมรับว่าแปลกใจเหมือนกันครับ เพราะจะบอกว่า Kaufman ไม่เคยทำหนังระทึกขวัญมาก่อนมันก็ไม่ใช่ เพราะเขาเคยทำหนังไซไฟระทึกขวัญอย่าง Invasion of the Body Snatchers เรื่องนั้นจัดว่าระทึกและน่าติดตามอย่างมาก ยิ่งจะบอกว่าเขาไม่เคยทำหนังชีวิตหรือหนังที่มีปมเกี่ยวกับมนุษย์หรือการเมืองมาก่อนก็ยิ่งไม่ใช่ เพราะ The Unbearable Lightness of Being เป็นตัวอย่างที่ดีเลยครับ ว่า Kaufman เขาทำได้ดีขนาดไหน
แต่ไม่ว่าจะเพราะอะไร หนังก็ออกมาแล้วน่ะครับ ก็จัดว่าดูได้ แต่ไม่สุด ในขณะที่ดารานั้นผมถือว่าเลือกมาเหมาะ โดยเฉพาะปู่ Sean นี่ถือว่าเหมาะมาก ส่วนสำคัญก็คงเพราะ Crichton วาดภาพตัวละครจอห์น คอนเนอร์โดยได้ปู่ Sean นี่แหละครับเป็นต้นแบบ ในขณะที่ Snipes, Tagawa, Harvey Keitel และ Tia Carrere ก็ถือว่าโอเคตามที่ปมจะอำนวยครับ แต่โดยส่วนตัวผมมองว่าบทของแต่ละคนสามารถลึกได้มากกว่าที่เป็น (โดยเฉพาะ Keitel กับ Carrere ครับ ผมรู้สึกว่าบทพวกเขามันเบาพิกล)