ดูหนัง The Holy Man Comeback (2024) หลวงพี่เท่ง Comeback
ตลอดระยะเวลาเกือบ 19 ปี ที่หลวงพี่เท่งออกเดินทางไปแสวงบุญถึงประเทศ ทิเบต บัดนี้ได้เวลาแล้ว ที่หลวงพี่เท่ง ตัวจริงเสียงจริงที่เคยสร้างปรากฏการณ์เมื่อเกือบ 19 ปีก่อน จะ Comeback กลับมาเพื่อได้เจอกับทุกๆคนอีกครั้ง เมื่อวัดใกล้บ้านเกิดของหลวงพี่เท่ง มีปัญหา ทำให้หลวงพี่เท่งต้องจากความสงบสุขที่เคยมีเป็นเหมือนเซฟโซนตอนอยู่ที่ทิเบต กลับมาเพื่อแก้ปัญหานั้น แต่เมื่อกลับมาก็กลับต้องเจอกับปัญหาโลกแตกในวงการศาสนาเมื่อมาเจอ คุณทิน นักธุรกิจใหญ่ พยายามจะยื่นขอเสนอทุกวิถีทาง เพื่อให้หลวงพี่เท่งออกวัตถุมงคล โดยตนจะเป็นคนจัดจำหน่ายให้ แม้จะบอกว่าตนเป็นพระสอนไม่ใช่พระเสก และไม่คิดจะออกวัตถุมงคล แต่ด้วยความจำเป็น ในที่สุดหลวงพี่เท่งก็จำต้องออกวัตถุมงคลจนได้ คุณทินทำการตลาดด้วยการพยายามบิ๊วให้ทุกคนคิดว่าหลวงพี่เท่งมีอิทธิปาฏิหารย์ และโดยไม่น่าเชื่อ วัตถุมงคลหลวงพี่เท่งแคล้วคลาด รุ่น กลับตาลปัตรก็กลับขายดีโด่งดังเป็นพลุแตก นั่นทำให้ทุกคนยิ่งมองหลวงพี่เท่งที่อิทธิปาฏิหารย์
อ่านรีวิวก่อน ดูหนังนักแสดง
เท่ง เถิดเทิง
โน้ต เชิญยิ้ม
สาวิกา ไชยเดช
สมชาย ศักดิกุล
ผู้กำกับ :โน้ต เชิญยิ้ม
รีวิว หลวงพี่เท่ง Comeback
สมาชิกหมายเลข 2470599
[รีวิว] หลวงพี่เท่ง Come Back – การกลับมาของหลวงพี่เท่งพร้อมคำถามตัวโตๆ ว่ากลับมาแล้วได้อะไร
ไม่แน่ใจว่ามีใครออกกฏบังคับให้ “หลวงพี่เท่ง Come Back” ต้องมีมุกตลกแทรกเกือบทุกฉากรึเปล่า ตัวหนังถึงพยายามใส่มุกซ้ำๆ ซากๆ ที่เล่นแล้วเล่นอีกจนเกิดความหงุดหงิดรำคาญแทนที่ความตลก มันจึงทำให้การ Come Back ในรอบเกือบ 20 ปี กลายเป็นคำถามว่า “กลับมาแล้วได้อะไร” แทนที่จะเป็นความปลื้มปริ่มที่ได้เห็นหลวงพี่เท่งอีกครั้งบนจอภาพยนตร์
.
เกือบ 20 ปี เป็นระยะเวลาที่สำหรับมนุษย์ก็ถือว่านานพอสมควร ถ้าเป็นเด็กก็โตจนเรียนจบ ทำงาน มีครอบครัวได้เลย หรือหากเทียบกับหมา แมว ก็เป็นระยะเวลาชั่วชีวิตของพวกเขาเลย แต่กับ “หลวงพี่เท่ง” (เท่ง-พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ) ที่ไปแสวงหาบุญที่ธิเบตจนกลับมาที่เมืองไทย เราสัมผัสไม่ได้เลยว่า นี่คือพระที่มีพุทธิปัญญา น่าเลื่อมใส จนใครต่อใครก็พากันเคารพนบนอบ กลับกันสิ่งที่หลวงพี่เท่งได้สำแดงในเรื่อง มันเป็นอะไรที่ “พื้นฐาน” มากๆ จนน่าสงสัยว่า การที่หลวงพี่ไปธิเบต 19 ปี นั้นได้อะไรกลับมาบ้าง(วะ)เนี่ย
.
จากตัวอย่างภาพยนตร์นอกจากแนะนำตัวละครแล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจอย่าง “ญาติโยมดิจิตอล” เพิ่มเข้ามา ซึ่งหากมาคิดดูดีๆ นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก แถมในตัว teaser “โยมส่ง” (โน้ต-บำเรอ ผ่องอินทรกุล) ก็บอกด้วยว่า “เดี๋ยวนี้ญาติโยมเวลาทำบุญ เขาก็ไม่นิมนต์พระกันแล้วครับ” “เขาก็เอาตู้ลำโพงมาตั้งแล้วก็เอาจีวรคลุม เปิดยูทูปเสียงสวดมนต์ ยกมือไหว้ตู้ลำโพงกันละครับ” สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงพฤติกรรมคนยุคปัจจุบันที่ไม่ค่อยเข้าวัดกันแล้ว และเป็นความท้าทายใหญ่สำหรับพุทธศาสนาว่าจะทำอย่างไรให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนในปัจจุบันได้
.
ประเด็นน่าสนใจแบบนี้กลับกลายเป็นแค่ลมปากที่ “หลวงพี่เท่ง Come Back” ไม่ได้สนใจใยดีแม้แต่น้อย โอเคเราอาจจะมองว่าโจทย์หลักของหลวงพี่เท่งก็ คือ การกลับมาฟื้นฟูวัดใกล้บ้านตามคำขอของโยมแม่ ซึ่งโจทย์นี้มันเป็นประตูบานใหญ่มาก ที่เปิดให้ตัวหนังสามารถเล่นประเด็นเกี่ยวกับศาสนาได้หลายแง่มุมมาก จะเป็นการวิพากย์ “พุทธพาณิชย์” แบบคมๆ เหมือนซีรี่ย์เรื่อง “สาธุ” ของ Netflix ก็ยังได้ ไม่เลวนักที่ตัวหนังก็เลือกจะเล่นประเด็นเรื่อง “วัตถุมงคล” สะท้อนเรื่องการหากินกับศาสนาแบบหน้าด้านๆ ของพวกนักธุรกิจ(และพระบางจำพวก)
.
“อาตมาเป็นพระสอน ไม่ใช่พระเสก” เป็นวลีที่ใช้บ่งบอกความเป็นหลวงพี่เท่ง ซึ่งก็ฟังดูดีนะ เพียงแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องกลับกลายเป็นการกลืนน้ำลายตัวเองซะงั้น ก็ไม่เข้าใจว่าผู้สร้าง ต้องการจะสื่อสารอะไรกันแน่ กับการที่หลวงพี่เท่งยอมกลับคำ(ผิดศีลรึเปล่านะ) ยอมออกวัตถุมงคลเพื่อฟื้นฟูวัด โดยในตอนแรกก็มีท่าทีว่าหลวงพี่จะมีแผนอะไรบางอย่างที่จะไม่ทำให้ตัวเองและวัดเสียเปรียบ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เห็นปัญญาใดๆ จากหลวงพี่เท่งเลย เอาเข้าจริงก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า คาแรคเตอร์ของหลวงพี่เท่งเป็นแบบไหนกันแน่ จะเป็นพระปัญญาเลิศแบบอิคคิวซังใช้ปัญญาแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน หรือจะเป็นพระทึ่มๆ ท่าทางเฟอะฟะ ซึ่งจากที่ดูมาก็เห็นทีจะเป็นอย่างหลังมากกว่า
.
เรื่องสังขารกับกฏ “ไตรลักษณ์” ที่เป็นอีกคำสอนทรงพลังของศาสนาพุทธเรา มันเป็นอะไรที่หากเล่าดีๆ ก็จะกินใจได้ไม่ยาก “หลวงพี่เท่ง Come Back” หยิบประเด็นนี้มาใช้กับโยมส่ง ผ่านเรื่องหูตึงที่เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร แน่นอนว่ามันสื่อถึงเรื่องสังขารได้ดีจนไม่รู้จะดีกว่านี้ยังไง จากที่เคยหนุ่มเคยแน่น กลายเป็นคนแก่งกๆ เงิ่นๆ ทำอะไรก็ติดๆ ขัดๆ ไปหมด ดูไปก็ปลงกรรมฐานไป แต่กลับเป็นว่าจากที่ดีๆ ถูกขยี้จนเละไปหมด เหมือนมีใครเขียนกฏไว้ว่า “ถ้าฉากไหนมีโยมส่ง ต้องมีมุกหูตึงปิดท้ายเสมอ” กลายเป็นเตะทิ้งประเด็นดีๆ ไปอีกหนึ่ง
.
อาจจะมีคนแย้งว่า “เอ้าก็หนังตลก จะซีเรียสทำไม ไม่ได้ทำหนังชิงออสการ์” ถ้าแบบนั้นลองโยนทุกประเด็นทิ้งไปแล้วดูอย่างไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ก็จะพบว่าความตลกใน “หลวงพี่เท่ง Come Back” นั้น นอกจากจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพแล้ว มันยังเชยได้ใจอีกต่างหาก ใครดูจบแล้วไม่รำคาญมุกหูตึงก็ให้มันรู้ไป แถมตัวละครสมทบที่เป็นเหล่าทายาทตลก 3 ช่า ก็ยังไม่สามารถสร้างความตลกได้มากนัก เหมือนมาอยู่ให้เต็มจอไม่เหงาแค่นั้น ยังดีที่ตัวมุกตลกทั้งหลายในเรื่อง เป็นตลกแบบ “คลีนๆ” ไม่มีคำหยาบหรือส่อเสียดเรื่องเพศสภาพ อาจจะมีการล้อสังขารบ้างเบาๆ กลายเป็นว่าซีนที่ดูตลกที่สุดเห็นทีจะเป็นการปรากฏตัวของ “หม่ำ จ๊กมก” ที่ตอกย้ำว่าความตลกมันส่งผ่าน DNA กันไม่ได้
.
ยังดีที่การแสดงของ เท่ง-พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ หรือ เท่ง-เถิดเทิง ในบทหลวงพี่เท่ง(3 เท่งแล้ว)นั้น ยังคงเชื่อใจได้ และมีพลังมากพอจะประคองเรื่องไปจนจบได้ แม้องค์ประกอบอื่นๆ จะดูทุลักทุเล แต่เสน่ห์บางอย่างจากเขาก็เข้ากันดีกับบทนี้จริงๆ ในขณะที่โยมส่งของโน้ต เชิญยิ้ม ที่นอกจากอาการหูตึงกับการเป็นลูกมือของหลวงพี่เท่งแล้ว ก็ไม่เห็นประโยชน์อะไรจากตัวละครนี้อีก อาจจะมีบ้างที่คอยเตือนสติคนอื่น แต่ก็ไม่เป็นที่จดจำมากพอ ส่วนตัวละครอื่นๆ ก็เป็นตัวละครแข็งๆ เหมือนหลุดมาจากซิทคอม ที่ดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไหร่นัก แล้วยังดีที่คุณภาพงานสร้าง งานถ่ายทำ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อย่างนั้นคงดูไม่จืดกว่านี้แน่
.
ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากแนวคิดของสองผู้สร้างเท่ง-โน้ต นั้น ล้าหลังและไม่กว้างพอที่จะครอบคลุมภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้ เพราะคุณไม่สามารถทำหนังทั้งเรื่องได้เพียงแค่ยัดมุกตลกไปในแต่ละฉากเพียงอย่างเดียว แต่ขาดการเรียบเรียงเนื้อเรื่องที่ดีและประเด็นที่จับใจผู้ชมได้ และใน “หลวงพี่เท่ง Come Back” มันแทบจะเป็นการเล่าแบบฉากต่อฉากที่ไม่ได้มีชั้นเชิงอะไรแม้แต่น้อย การจะอ้างว่าก็มันคือ “หนังตลก” อย่าคิดอะไรมาก ดูแค่ฉากตลก(น้อย)ก็พอ ดูจะฟังไม่ขึ้นและดูถูกคนดูมาก ถ้าต้องการแค่ฉากตลก เข้ายูทูปแล้วพิมพ์ “10 อันดับ ฉากตลกจาก…..” ก็น่าจะพอแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาเข้าโรงภาพยนตร์หรอก
เก็ทนะเดอะมูฟวี่
รีวิว : หลวงพี่เท่ง Comeback (รอบสื่อ)
การกลับมาอีกครั้งของหลวงพี่เท่ง
(ของพี่เท่ง เถิดเทิง) หลังจากหายไปนานถึง 19 ปี โดยภาคนี้จะเล่าเรื่องราว ที่หลวงพี่ เดินทางกลับมาจากประเทศธิเบต หลังจากที่ได้ไปแสวงบุญมาอย่างยาวนาน ซึ่งโยมส่งได้ติดต่อหลวงพี่และนิมนต์ให้กลับมาบ้าน เพราะโยมแม่มีอาการป่วย
.
และยังเล่าต่อว่าวัดใกล้บ้านเกิดของหลวงพี่เท่ง ซึ่งกำลังมีปัญหาชำรุด ทรุดโทรม ขาดการทำนุบำรุง อย่างวัดอื่นๆ เลยอยากนิมนต์ให้หลวงพี่เท่งกลับมาเป็นหัวหลัก เพื่อช่วยเหลือให้ทุกอย่างเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
.
แต่ในขณะเดียวกันนั้น กลับมีนักธุรกิจท้องถิ่น ระดับมารศาสนา ที่พยายามจะเข้ามาหากินกับวัดและความงมงายของชาวบ้าน โดยใช้ข้ออ้างกับหลวงพี่ว่า จะทำการปรับปรุงและซ่อมแซม หรือสร้างสิ่งต่างๆในวัดให้ดีขึ้นในทางแบบที่หลายคนคาดหวัง
.
หลวงพี่เท่งภาคแรกถือเป็นหนังตลกไทยระดับตำนานได้เลย มีมุกที่ยังถูกเล่นมาจนถึงปัจจุบันอยู่ไม่น้อย ก่อนจะมีภาคต่อมาอีกหลายภาค แต่ก็เปลี่ยนแปลงนักแสดงมาตามยุค ตามสมัย
.
หลังจากผ่านไป 19 ปี พี่เท่ง เถิดเทิง กลับมาสวมบทบาทนี้อีกครั้ง แบบยังคงความสนุกสนานและบทบาทที่เป็น ” ออริจินัล ” อย่างแท้จริง
.
ช่วงแรกของหนังถือว่าทำได้ค่อนข้างดีเยี่ยม ในระดับหนังตลกไทย ที่ดูได้ทุกเพศ ทุกวัย มีมุกที่ทำให้หัวเราะ และยิ้มมุมปากอยู่ไม่น้อย แต่หลังจากผ่านช่วงนี้ไป ความฮา อาจจะดรอปลงไปบ้าง แต่ยังมีโยมส่ง และหลวงพ่อ พร้อมกับแก๊งค์เด็กวัด เป็นคนสร้างเสียงฮาเป็นตัวช่วยอยู่เป็นระยะๆอยู่ตลอด
.
ส่วนบทภาพยนตร์ช่วงแรก ดูน่าสนใจ แต่ดูเหมือนเนื้อหาจะค่อนข้างเดินเร็วไปนิด และดูรีบเร่งไปหน่อย อยากให้มีดราม่ามากกว่านี้อีกสักนิด (เพราะอยากดูนานกว่านี้)
.
** ที่สำคัญที่สุดแบบคาดหวังได้เลย **
คือ..เนื้อหาของหนังยังคงแฝงเรื่องคติสอนใจ ให้ทั้งคน รุ่นเก่าใหม่ อยู่เหมือนเดิมแบบเข้าใจง่ายและตามยุค ตามสมัย สไตล์ของหลวงพี่เท่งมาตลอด
เฟรนไชน์ ซึ่งมันคือ ความดีงามของเฟรนไชน์นี้
ในการนำเสนอ เรื่องราวและความเป็นไปของสังคมไทยโดยแท้จริง
ใครที่ชอบหลวงพี่เท่ง สำหรับภาค Come back นี้ ก็สามารถไปติดตามรับชมกันได้ทั้งครอบครัว ในวันพฤหัสบดี 26 กันยายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านได้เลย รับรองไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนครับ
สาธุ 999