ดูหนัง The Only Mom (2019) มาร-ดา
เรื่องราวของครอบครัวแสนสุขที่ “ศิริ”ลูกสาวคนเดียวไม่สามารถเข้าสังคมกับเพื่อนที่โรงเรียนเก่าได้จึงตัดสินใจย้ายมาอยู่บ้านในเมืองแห่งหนึ่งที่เงียบสงบ จนพวกเขาได้ค้นพบภาพถ่ายฟิล์มกระจกบานหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่าในนั้นยังมีวิญญาณเด็กที่ถูกกังขังมาหลายสิบปี นับจากวันนั้นมา ลูกสาวตัวน้อยของพวกเขาก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และกลายเป็นความท้าทายในการนิยามความเป็นแม่ขั้นสุด ไนน์ไนน์ รับบทเป็น อ่อง ทูรา บรรณาธิการนิตยสาร และเมย์ (วุตต์ มน ชเว ยี) ภรรยาของเขา พร้อมด้วยซิรี ลูกสาวออทิสติก (พแย พแย) ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านเก่าสไตล์โคโลเนียลที่แสนน่ารักในยายนานชองเพื่อตำแหน่งงานใหม่ของไนน์ไนน์ แม้เมย์จะพยายามติดต่อกับซิรี แต่ซิรีกลับมีปัญหาในการสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับแม่ของเธอ และมักจะละเลยความพยายามของเมย์ที่จะสื่อสารกับเธอ เมื่อมาถึงบ้าน Nine Nine ก็พบรูปถ่ายกระจกโบราณของอดีตเจ้าของบ้าน Daung (ช่างภาพ) พร้อมกับลูกบุญธรรมของเขาที่ประดับอยู่ตามผนัง รูปถ่ายเหล่านี้ถ่ายโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพกระจกแบบเก่า ทำให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้น ทำให้ Aung Thura ตั้งใจที่จะปล่อยให้รูปถ่ายเหล่านั้นจัดแสดงตามเดิม
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
นักแสดง
Nine Nine เก้าเก้า
Wutt Hmone Shwe Yi
Daung
ผู้กำกับ : ชาติชาย เกตุนุสท์
รีวิว The Only Mom (2019) มาร-ดา
beartai
หนังพม่าเรื่องที่ 2 ของผู้กำกับไทย ชาติชาย เกษนัส ได้สร้างปรากฎการณ์โรงแตกที่บ้านเกิดมาแล้วด้วยองค์ประกอบที่ถึงพร้อมทั้งงานโปรดักชั่นและคุณค่าทางศิลปะที่น่าจะเหนือกว่าหนังท้องถิ่นเรื่องอื่นก็ไม่ยากเลยที่หนังจะเป็นที่นิยม แต่อีกจุดหนึ่งที่ปฏิเสธมิได้เลยคือบรรยากาศสยองๆที่เคล้ากับอารมณ์ร่วมจากความไม่สงบทางการเมืองที่ชาวพม่าทุกคนสัมผัสได้ก็น่าจะเป็นการกลับไปย้อนมองประวัติศาสตร์ชาติพม่าอันน่าสนใจหลายประการ ดังนี้
การเลือกบ้านสไตล์อังกฤษ หากอยู่ในหนังชาติอื่นอาจไม่มีความหมายทางการเมืองอะไร แต่หากกระเทาะประวิติศาสตร์พม่าที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและประชาชนผ่านการถูกกดขี่จากเจ้าอาณานิคมก็ยิ่งทำให้ “ผี” จากอดีตของพม่าที่เล่าเรื่อง “อะเหม่จัม” ยิ่งมีความหมายเชิงสัญญะที่ไปไกลกว่าแค่เอาตำนานผีท้องถิ่นมาบอกเล่า เพราะมันกำลังเล่าถึงหัวใจของหนังอันว่าด้วย “ลูก” ที่ไม่สามารถเลือก “แม่” ที่เปรียบได้กับประชาชนพม่าเองที่ไม่เคยมีโอกาสได้เลือกผู้ปกครองตัวเองได้อย่างแยบยล
“เราเป็นคนชอบถ่ายภาพ เลยคิดว่าถ้ามีเรื่องภาพถ่ายโบราณอยู่ในหนังมันก็น่าสนใจดี ตอนแรกคิดแค่นี้ ส่วนเรื่อง Post-Mortem Photography (การถ่ายภาพคนตาย) มันก็เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าจริงหรือไม่ แต่เรื่องถ่ายภาพเด็กที่ตายแล้วนั่นมีจริง สมัยก่อนการถ่ายรูปมันแพง มันต้องไปถ่ายในสตูดิโอเท่านั้น มันไม่สามารถยกกล้องออกไปข้างนอกได้ง่ายๆ เมื่อก่อนมันเป็นฟิล์มกระจก ซึ่งคือการทำในกระบวนการที่ยังเปียกอยู่ (wet glass) มันค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก แต่ก่อนโรคภัยก็เยอะ เด็กเกิดมาไม่ทันไรก็ตาย เลยมีการถ่ายรูปเก็บไว้ สังเกตจะเห็นว่ารูปพวกนี้พ่อแม่จะวูบๆ เบลอๆ แต่เด็กที่นอนอยู่จะนิ่ง ถ้าเจอภาพประมาณนี้ให้รู้ไว้เลยว่าของจริง เพราะความที่การถ่ายภาพเมื่อก่อนมันต้องยืนนิ่งๆ 3-5 นาที คนมันนิ่งขนาดนั้นไม่ได้ แต่คนที่ตายแล้วนี่นิ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เราเลยคิดว่ามันเป็นรายละเอียดที่กลัวดี”