ดูหนัง Toy Story That Time Forgot (2014) ทอย สตอรี่ ย้อนเวลาตามหาอาณาจักรนักสู้ ดิสนีย์และพิกซาร์ภูมิใจเสนอ การผจญภัยตอนใหม่สุดสนุกจาก ทอย สตอรรี่ เมื่อหนึ่งวันหลังคริสต์มาสของบอนนี่ เหล่าของเล่นได้หลงเข้าไปในที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน จากหุ่นของเล่นที่เท่ห์ที่สุดกลับกลายเป็นหุ่นที่อันตรายที่สุด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับทรีซี่ เจ้าไทรเซเลท็อปของเล่น ว่าจะสามารถพาเพื่อนๆ กลับสู่ห้องของบอนนี่ได้หรือไม่ ทอยสตอรี่ ย้อนเวลาตามหาอาณาจักรนักสู้ จะเป็นอีกหนึ่งการผจญภัยที่มอบทั้งความสุข ความสนุก และความน่าตื่นเต้นให้ทุกคนในครอบครัว มาร่วมผจญภัยไปด้วยกันเถอะ!
อ่านรีวิวก่อน ดูหนังนักแสดง
Tom Hanks
Tim Allen
Kristen Schaal
Kevin McKidd
ผู้กำกับ
Steve Purcell
รีวิวหนัง Toy Story That Time Forgot (2014) ดูหนังออนไลน์
โตมากับการดูหนังเด็กที่มีจุดเศร้าผู้ใหญ่อย่าง Bambi, The Land Before Time, หรือ The Search for Christopher Robin เหมือนช่วยเตรียมพร้อมให้ Toy Story 3 เป็นประสบการณ์การดูหนังโรงที่สั่นสะเทือนที่สุดสำหรับผมเลยก็ว่าได้ ความหน้าฉากหนังของเล่นเรท G สำหรับเด็ก กลับใส่ความสุดทางแบบผู้ใหญ่ในเมสเสจหนัง ที่พูดถึงความไม่ยั่งยืนของกาลเวลาและชีวิต เหล่าของเล่นต้องเผชิญกับทั้ง “ความตาย” (มองเข้าไปในเตาเผาขยะ และยอมรับมันร่วมกัน) และ “ความเปลี่ยนแปลง” (ลาจากจากบ้านเก่าด้วยความปลง อย่างเปี่ยมเศร้าเคล้าสุข) อันเป็นสองสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนชวนให้ผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่ต้องครุ่นคิดถึงสิ่งเหล่านั้นตามนอกจอทีเดียว ตอนจบอันยิ่งใหญ่สมบูรณ์ของภาค 3 ก็ทำให้ผมเป็นคนหนึ่งที่มองการเกิดขึ้นของ Toy Story 4 อย่างกังขาข้องใจ ว่า Pixar กำลังพาตระกูลหนังที่แจ้งเกิดสตูดิโอ มาเสี่ยงดวงด้านคุณภาพและชื่อเสียงเกินไปหรือเปล่า
ซึ่งในแง่หนึ่ง นี่ก็เป็นภาคต่อ Toy Story ภาคแรกที่ให้ความรู้สึก “ยืดเพิ่ม” มากกว่า “ต่อยอด” เหมือนสองภาคก่อนที่สร้างเรื่องต่อได้เนียนสนิท แต่แฟรนไชส์หนังอื่นๆคงได้แค่หวังให้การยืดเพิ่มภาค 4 หลังผ่านมาเกือบสิบปีมันคงคุณภาพสูงเท่านี้ เพราะเสน่ห์เดิมยังอยู่ครบ ทั้งตัวละครและสถานการณ์ที่รุ่มรวยรายละเอียดและเปี่ยมจินตนาการ ไปจนถึงการเล่าเรื่องได้สนุกสนานเหมาะสำหรับเด็กแต่ไม่ดูถูกผู้ใหญ่เลย อย่างมุกเล็กน้อยที่ปล่อยเล่นในพื้นหลังฉากของตุ๊กตาทหารที่รอ high five นานเป็นหนุ่มจืด หรือการกลับมาเจอกันอย่างไม่คาดฝันของวู้ดดี้กับโบ ที่การต้องแกล้งหน้านิ่งเป็นของเล่นกลับเพิ่มบรรยากาศต้องมนต์โรแมนติกให้ฉากนี้มากขึ้นอีก
ผู้สร้างหนังเองดูรู้ตัวถึงความไม่น่ามีอยู่ของมันหลังภาค 3 ก็ฉลาดเล่า เปลี่ยนสเกลจากความอีพิคเล่าภาพใหญ่ของวัฏจักรของเล่น ที่ภาค 3 พาไปจนสุดทางหมดจดแล้ว ปรับให้สเกลเล็กลง และเอารายละเอียดอดีตตามทางภาคก่อนๆ มาสร้าง character study ที่สำรวจสภาพจิตใจของวู้ดดี้ และแสดงเส้นทางการเจริญเติบโตทางตัวละครของเขาอย่างใกล้ชิดแทน โหมด character study นี้ทำให้ไม่แปลกเลยว่าถึงตัวละครของเล่นหลักกลับมากันครบ แต่กลับมีฉากแบ่งเกลี่ยให้ตัวรองเก่าๆน้อยกว่าที่เคย เพราะสถานการณ์เนื้อเรื่องและตัวละครทั้งใหม่เก่าในภาค 4 นี้ ต่างต้องเป็นบันไดเดินทางไม่ก็ภาพสะท้อนของวู้ดดี้ ให้เขาไปสู่ปลายทางการพัฒนาตนเอง
อันนี้ชัดสุดเลยในตัวละครใหม่อย่างฟอร์คกี้ ของเล่นสร้างจากขยะและอยากกลับเป็นขยะ ที่ความหม่นหมองในการมีอยู่ แทบเป็นปรัชญาถึงความสงสัยกังขาในที่ทางของตัวตน (existential crisis) จนสะท้อนและกระทบใจวู้ดดี้เข้าอย่างจัง ทำให้เขาที่ไขว้เขวจากการเริ่มไม่เป็นจุดสนใจของบอนนี่อยู่แล้ว ต้องพยายามช่วยเหลือฟอร์คกี้อย่างที่สุด เพื่อมายืนยันในความมีประโยชน์และการมีอยู่ของตนเอง ฟอร์คกี้เป็นตัวจุดประกายเส้นตัวละครวู้ดดี้ในภาคนี้มาก ความยื้อยุดทางจิตใจระหว่างสองคนนี้ ยังดึงกระทั่งแนวโน้มความอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิมจนมองข้ามหัวคนอื่นของวู้ดดี้ในภาคก่อนๆ ให้เด่นขึ้นเป็นลักษณะเห็นแก่ตัวชัด เป็นอีกหนึ่งคำถามว่าเขาควรหาเส้นทางตัวเองอย่างไรดี
โดยรวมแล้ว ภาคนี้จึงเป็นการเปลี่ยนโหมดที่ทั้งแปลกสุดและตลกสุดในซีรี่ส์เลยทีเดียว ใช้ความคุ้นชินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเส้นเรื่องให้เป็นข้อดี นำมันกลับเป็นโฟกัสที่เล็กลง สร้างธีมตัวละครให้น่าสนใจแทน อย่างไรก็ดี ผมอดสงสัยระหว่างดูไม่ได้ว่ามันจะพาเราไปสู่ปลายทางตรงไหน เพราะยิ่งภาค 3 ก็เป็นเส้นทางบรรจบของตัวละครเหล่านี้ที่ดูสมบูรณ์แบบแล้ว แต่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ Toy Story หาทางจบลงได้สวยในแบบฉบับของภาคนั้นๆเอง มันอาจไม่ใช่ที่สุดของความหวานขมจากการสำรวจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตแบบภาค 3 แต่ตอนจบ Toy Story That Time Forgot (2014) ทอย สตอรี่ ย้อนเวลาตามหาอาณาจักรนักสู้ ก็ยังพาเรากับวู้ดดี้ไปสู่บทเรียน coming-of-age อันลึกซึ้ง แต่ก็ชวนเศร้าสะเทือนไม่น้อย ของการตระหนักว่าตนได้เติบโตเลยมาถึงจุดหนึ่งแล้ว และตระหนักว่าเราต้องหาที่ทางในโลกนี้ที่เหมาะกับเราที่สุด แม้มันจะพาเราก้าวนอก comfort zone ของตนเองมากแค่ไหน เพราะการเจริญเติบโตก้าวผ่านวัยช่วงหนึ่งของชีวิต ไม่ได้มีไว้แต่สำหรับมนุษย์เจ้าของของเล่นอย่างแอนดี้เท่านั้น ตัวของเล่นที่มีจิตรับรู้วันเวลาอย่างวู้ดดี้เองก็เช่นกัน
bugaboo
Toy Story 4 รอบนี้เป็นเรื่องราวของ วู้ดดี้ กับการผจญภัยอันยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อหนูน้อย บอนนี่ เจ้าของใหม่ของเขา ได้ประดิษฐ์ช้อนส้อมมาเป็นของเล่นชื่อว่า ฟอร์คกี้ ที่คอยจ้องแต่จะหนี้เพราะคิดว่าตัวเองเป็นขยะ จึงทำให้ วู้ดดี้ ต้องคอยตามดูแลให้ให้ของเล่นชิ้นโปรดนี้หนีไป แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ วู้ดดี้ และผองเพื่อนต้องร่วมกันผจญภัยในโลกกว้างอีกครั้ง เพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ได้เจอกัน งานนี้จึงต้องไปลุ้นจบสรุปการเดินทางของมิตรภาพอันยิ่งใหญ่นี้กันจ้า
ก่อนอื่นเลยขอชมตัวบทของ Toy Story 4 เขียนออกมาได้ดีมาก ทุกอย่างดูลงตัวไปหมด รอบนี้กลับมาพร้อมเรื่องราวที่โตขึ้น เป็นอีกมุมหนึ่งที่ตัวละครหลักอย่าง วู้ดดี้ จะต้องตัดสินใจ พร้อมด้วยมิตรภาพของเพื่อนๆ เหล่าของเล่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังบวก ทำให้หนังมีครบทุกรสชาติไม่ว่าจะเป็นความสนุก มุกตลกเรียกเสียงหัวเราะ รวมไปถึงซีนดราม่าที่ทำให้เสียน้ำตา การเล่าเรื่องลื่นไหลดูเพลินอย่างไม่น่าเชื่อ พร้อมคำคมปลุกใจที่ทั้งผู้ใหญ่แบบเราๆ และเด็กจะได้ข้อคิดกลับไปเยอะมาก ซาวน์ประกอบที่ใช้ก็ดูลงตัวไม่มีอะไรทำให้ขัดใจเลยสักนิด ตอนแรกที่คนเขียนเห็นคะแนนรีวิวเปิดตัววันแรกของเว็บ Rotten Tomatoes ได้เต็ม 100% แต่พอดูเองก็เข้าใจแล้วว่ารอบบนี้ทำออกมาดีมากจริงๆ
สรุป Toy Story 4 เป็นแอนิเมชั่นภาคต่อที่ให้ความรู้สึกอิ่มเอมใจสุดๆ บทเพอร์เฟ็กต์มาก เอาคะแนนไปเลยจ้า 10/10
beartai
จริง ๆ นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Toy Story ได้ออกจากอ้อมอกของแลสเซตเตอร์ เพราะในภาคที่ 3 เมื่อปี 2010 ก็ถ่ายมือมาสู่ ลี อุนคริช ผู้กำกับที่เคยร่วมกำกับกับแลสเซตเตอร์ในภาคที่ 2 ทั้งยังสร้างบารมีด้วยการกำกับร่วมในหนังอย่าง Monsters, Inc. (2001) และ Finding Nemo (2003) มาก่อน ทั้งในภาค 3 ตัวแลสเซตเตอร์ยังช่วยดูบทหนังให้อยู่ด้วย เมื่อเทียบกันงานภาค 4 ของคูลีย์จึงเป็นงานที่ยากและท้าทายกว่า ตรงที่ไม่มีพ่อผู้ให้กำเนิดดูแลเกี่ยวข้องอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามแฟน ๆ ไม่ต้องตกใจไปว่าจะเป็นหนัง Toy Story ที่เราไม่รู้จัก เพราะตัวหนังยังคงได้ แอนดรูว์ สแตนตัน ที่ร่วมเขียนบทตั้งแต่ภาคแรกมาช่วยเขียนบทให้เช่นเคย ทั้งยังได้ผู้เกี่ยวข้องกับหนังชุดนี้เข้ามาช่วยกันหลายต่อหลายคนทีเดียว แม้จะมีข่าวไม่สู้ดีว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 4 ของพิกซาร์ที่มีการเปลี่ยนทั้งผู้กำกับและมีการเขียนบทใหม่ ซึ่งไอ้ 3 เรื่องก่อนหน้า ก็แป้กไปเสีย 2 เรื่องแล้วด้วย (ฺBrave กับ The Good Dinosaur)
แต่กับ Toy Story 4 ที่เป็นเหมือนหนังลูกรักลูกหม้อของค่าย จึงไม่ใช่แนวที่จะต้องมาทดลองหรือพิสูจน์ตัวเองใหม่อะไรอีก และมันก็เติมเต็มในส่วนความคาดหวังของผู้ชมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยศักยภาพของงานโปรดักชั่นที่สูงขึ้นอย่างน่าประทับใจ เพียงฉากเปิดเรื่องที่เกิดขึ้นท่ามกลางหยาดฝน และแสงไฟอันเงียบเหงาตัดกับสีอบอุ่น ภาพชัดตื้นที่ชวนฝัน และมุมภาพการเคลื่อนไหวที่จัดเจนมาจากผู้ชำนาญการแอนิเมชั่นเบอร์ต้นของโลก ก้เป้นประสบการณ์การรับชมหนังที่อิ่มตาตั้งแต่ต้น และการใช้งานภาพอันสวยหยดเยิ้มนี้ก็ผสานเข้ากับแนวหนังบันเทิงได้อย่างลงตัว เราจะไม่รู้สึกว่าความศิลป์ของหนังมาคอยขัดขวางความลื่นไหลของความสนุก และเมื่อมองภาพแบบพินิจคราใดก็พบแต่ความงามบรรเจิดอยู่ร่ำไป นี่คงต้องชมไปถึงภาคดนตรีประกอบที่ทำได้อย่างละมุนกลมกล่อมไปกับเรื่องราวได้อย่างดีด้วย
สำหรับเนื้อเรื่อง ส่วนตัวมองว่าเป็นข้อด้อยสักหน่อย ตรงที่มีการประกาศว่าจะเป็นภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์ชุดนี้แล้ว นั่นก็เพราะความประทับใจในภาคที่ 3 ที่ตอนนั้นเราเข้าใจว่าจะเป็นบทสรุปอันสุดยอดของเหล่าของเล่นเพื่อนซี้ ได้สร้างบรรทัดฐานสูงล้นขึ้นมาในใจเราแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงน้ำตาแตกตายกันกลางโรงกับการจากลากับแอนดี้เพื่อนรักที่อยู่ด้วยกันมา 3 ภาคกินระยะเวลาเป็นสิบ ๆ ปีไปไม่ใช่น้อย และเมื่อบอกว่านั่นยังไม่ใช่จุดพีค แต่นี่คือตอนจบจริง ๆ เราคงคาดหวังอะไรที่กระแทกกระทั้นใจยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก
ทว่าในภาคนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือทีมงานวางโจทย์เพื่อหาบทสรุปให้ตัวละครเก่า ทั้งที่ทิ้งไว้เช่นในภาค 3 ก็สวยงามดีแล้ว แต่เหมือนศิลปินเกษียณที่คิดถึงแฟน ๆ จนทนไม่ไหว จึงกลับมาบอกเล่าเรื่องราวเพิ่มเติมอีกนิดให้แฟน ๆ หายคิดถึง เน้นที่การมอบความสุข และบรรยากาศแสนหวานในอดีตที่มีร่วมกันอีกครั้ง หนังจึงเต็มไปด้วยความสุข ความสนุก ความตลกที่สอดแทรกแทบตลอดเวลาจากต้นจนจบ และแซมไว้ด้วยบทอาลัยอันเศร้าสร้อยซ่อนไว้ใต้ผิวอันเปล่งปลั่งสดใส เพราะอย่างไรเสียงานเลี้ยงย่อมมีวันจบ แต่จะให้จบด้วยน้ำตาแฟน ๆ แบบภาค 3 คงไม่ใช่จริตนักมอบความสุขอย่างพิกซาร์ ภาค 4 จึงน่าจะเกิดขึ้นเพื่อการนี้ การฟินาเล่ด้วยรอยยิ้มของแฟน ๆ น่าจะเป็นตอนจบที่ใช่ที่สุดสำหรับหนังแฟรนไชส์นี้ต่างหาก
หนังจึงยังคงได้ดาราดังกลับมาพากย์บทสำคัญเช่นเดิม ทั้ง ทอม แฮงส์ ในบทนายอำเภอ วู้ดดี้ กับ ทิม อัลเลน ในบทนักท่องอวกาศ บัซไลท์เยียร์ และการกลับมาอีกครั้งของ แอนนี่ พอตส์ ในบท โบ ปี๊ป แฟนสาวของวู้ดดี้ที่หายหน้าไปหลังจากภาค 2 เพื่อมาสานต่อและสร้างบรรยากาศโรแมนติกเติมเต็มเรื่องราวของวู้ดดี้ ตัวละครหลักที่ไม่เคยได้รับรางวัลอันสมควรจากการทุ่มเทให้เด็ก ๆ อย่างยาวนาน แต่ถึงจะเป็นเอนเอตร์เทนเนอร์อย่างไร พิกซาร์ก็ยังเป็นนักปรัชญาที่ชาญฉลาดด้วย จากที่เราเห็นแล้วในหนังอย่าง Inside Out หรือ Coco และใน Toy Story That Time Forgot (2014) ทอย สตอรี่ ย้อนเวลาตามหาอาณาจักรนักสู้ ก็เช่นกัน หนังยังหามุมที่แฟรนไชส์ยังไม่ได้จับต้องมาขยายได้อย่างน่าสนใจ ว่า ของเล่นต้องเกิดมาเพื่อเด็ก ๆ เท่านั้นจริง ๆ หรือ? ซึ่งเพิ่มการถกเถียงในเรื่องชะตาชีวิตและจิตอิสระอย่างน่าสนใจ
นอกจากร่ำลาตัวละครเดิม ๆ แล้ว หนังยังเบิกทางให้ตัวละครใหม่ ๆ หลายตัวอย่างน่าประทับใจ ราวกับบอกว่าไม่ต้องเสียใจกับการจากไป งานเลี้ยงนั้นจบลงและจัดขึ้นใหม่ได้เสมอ ตราบที่เรายังคงมีฝันและความรัก โดยตัวละครใหม่ที่ว่านี้ก็มาแบบสุดเซอร์ไพรส์ ทั้งได้ คีอานู รีฟส์ นักแสดงขาขึ้นที่สุดในวงการขณะนี้มารับบทตุ๊กตาสตั๊นท์แคนาดาในตำนานอย่าง ดุ๊ก คาบูม และ จอร์แดน พีล ผู้กำกับสุดสยองจาก Get Out และ Us ที่มารับบทตุ๊กตาสุดแสบอย่าง บันนี่ ด้วย